top of page

ลูกค้าจังหวัดนครสวรรค์ ติดตั้งโซล่าเซลล์

นักธุรกิจชาวจีน มีความสนใจในการทำการเกษตรอัจฉริยะ

โดยการติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาด 1500w ใช้หลอดไฟ LED T8 40 หลอดในการติดตั้ง ติดตั้งในระบบ off-grid โดยเปิดใช้ช่วงเวลากลางคืน 4-5 ชม./วัน

ภาพก่อนการติดตั้ง

ภาพหลังการติดตั้ง

การทำการเกษตรแบบผสมผสานด้วยการปลูกสร้างโรงเรือน และนำพืชเขตร้อนมาปลูกโดยนำเอาแสงจากดวงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ในตอนกลางคืน

ทวี หอมชง.(2519,หน้า191)ในกระบวนการแรกของการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงเป็นสำคัญ โมเลกุลของคลอโรฟิลล์แต่ละชนิดและสารอื่นๆ จะดูดแสงได้ในความยาวคลื่นแสงต่างกัน แสงมีอิทธพลต่อพืช และพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้คือ แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งมีความยาวคลื่นคือ ตั้งแต่ 400-740 นาโนเมตร อิทธิพลที่มีต่อพืชแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพทางสรีรวิทยาของพืชแต่ละชนิด ช่วงเวลาของการได้รับแสง ความเข้มและความยาวคลื่นแสง โดยทั่วไปถ้าความเข้มของแสงลดลงจากสภาพที่เหมาะสมของพืชชนิดหนึ่ง การสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะลดน้อยลงด้วย แต่ถ้าพืชได้รับแสงที่มีความเข้มมากๆเป็นเวลานานเกินไปก็จะมีผลทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงชะงักและหยุดลงได้ ทั้งนี้เพราะการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดมาก ออกซิเจนซึ่งเป็นผลพลอยได้ถูกนำไปใช้ในส่วนต่างๆของเซลล์ จะมีผลไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้พบว่า แสงที่พืชสามารถนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ คือแสงสีส้ม แดง ม่วง น้ำเงิน โดยเฉพาะแสงสีแดงและน้ำเงิน พืชสามารถนำไปใช้ได้มากที่สุด จากข้อความข้างต้น พอสรุปได้ว่า สารสีในการสังเคราะห์แสง (Photosynthetic Pigment) นั้นมีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่– คลอโรฟิลล์ คาโรทีนอยด์ และไนโดบิลิน ยกตัวอย่างเช่น คลอโรฟิลล์ จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของปฏิกิริยา โดยในพืชแต่ละชนิดจะมีสารชนิดต่างๆไม่เท่ากัน– แสงสว่าง ในการสังเคราะห์แสงช่วงแรกๆจะเป็นมากที่จะให้คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงเข้าไปใช้ประโยชน์– CO₂ พืชนำไปใช้โดยนำเข้าทางปากใบ– H₂O พืชจะนำไปใช้โดยนำเข้าผ่าน 2 ทาง คือ ราก และ ปากใบ(ไอน้ำ)3. ปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสงศรีโรจน์ ปวนะฤทธิ์.(2519,หน้า150-161) เป็นปฏิกิริยาที่ซับซ้อนต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น 2 ปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาใช้แสง กับปฏิกิริยาไม่ใช้แสง ดังรายละเอียดต่อไปนี้3.1 ปฏิกิริยาใช้แสง (Light Reaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ต้องมีพลังงานแสง น้ำ ตัวรับอิเล็กตรอน และคลอโรฟิลล์ เมื่อคลอโรฟิลล์ถูกกระตุ้นด้วยพลังงานแสง ทำให้อิเล็กตรอนของคลอโรฟิลล์มีพลังงานสูงกว่าเดิม จึงเปลี่ยนจาก สภาวะปกติไปสู่สภาวะตื่นตัว แล้วหลุดจากวงโคจรของคลอโรฟิลล์ที่ถูกกระตุ้น เข้าสู่ระบบขนส่งอิเล็กตรอน มีการถ่ายทอดไปเรื่อยๆ ในขณะที่มีการถ่ายทอดนี้ พลังงานอิเล็กตรอนจะลดลง และมีการสร้าง ATP พลังงานอีกส่วนหนึ่งจะนำไปสร้าง NADPH2 ในปฏิกิริยาใช้แสงนี้ แสงยังทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไอออน และออกซิเจน การแตกตัวของน้ำจะทำให้อิเล็กตรอนออกมาในสภาพมี่เป็นจริงตามธรรมชาติ ในการเกิดออกซิเจน 1 โมเลกุล จะต้องใช้น้ำอย่างน้อย 4 โมเลกุล

bottom of page